ภาวะ เสื่อมสมรรถภาพ เพศชาย สาเหตุ อาการ แนวทางแก้ไข (ED)

ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศของผู้ชายมักจะเกิดขึ้นโดยที่ผู้ชายแทบจะไม่รู้ตัวเลย แต่เมื่อเกิดอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศขึ้นแล้ว อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตรัก ชีวิตประจำวันและความมั่นใจส่วนบุคคลได้ หากคุณมีอาการและสามารถสังเกตตัวเองได้ทัน อย่าอาย! รีบขอคำแนะนำจากแพทย์เพื่อรับการตรวจและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องเสื่อมสมรรถภาพ อาการ Erectile dysfunction (ED) คืออะไร? เสื่อมสมรรถภาพ เพศชาย สาเหตุมาจากอะไรบ้าง? พร้อมเช็คลิสต์ดูอาการตัวเองและวิธีการรักษา ศึกษาเพิ่มเติมได้ในบทความนี้เลย!
เลือกอ่านหัวข้อที่ชอบ
    Add a header to begin generating the table of contents
    Erectile dysfunction - ED

    ภาวะเสื่อมสมรรถภาพ เพศชาย Erectile dysfunction (ED) คืออะไร?

    ภาวะเสื่อมสมรรถภาพ เพศชาย Erectile dysfunction (ED) คือ ภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะเพศชาย ซึ่งไม่แข็งตัว หรือไม่สามารถแข็งตัวได้เพียงพอ หรือมีการแข็งตัวแต่ไม่นานพอที่จะร่วมเพศได้สำเร็จ รวมทั้งอาการหลั่งเร็วและหลั่งไว ตามกลไกของธรรมชาติแล้ว การแข็งตัวของอวัยวะเพศจะต้องมีสิ่งเร้าทางเพศมากระตุ้นให้สมองหลั่งสารสื่อประสาท ส่วนอวัยวะเพศจะหลั่งสารไนตริกออกไซด์ เพื่อกระตุ้นให้เส้นเลือดแดงในอวัยวะเพศชายขยายตัวขึ้น เมื่อเลือดไหลเวียนเข้าไปยังเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศชายแล้ว เนื้อเยื่อจะไปกดทับเส้นเลือดดำและกักเก็บเลือดเอาไว้ในอวัยวะเพศ อวัยวะเพศจึงเกิดการแข็งตัวและขยายตัวได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นผู้ที่ประสบพบเจอกับปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจึงทำให้วิธีถีการดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงไปและมีปัญหาทางด้านร่างกายและจิตใจตามมาในภายหลังด้วย

    ภาวะเสื่อมสมรรถภาพเพศชาย มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง?

    โรคเสื่อมสมรรถภาพ เพศชาย สาเหตุเกิดจาก 3 สาเหตุใหญ่ ๆ ได้แก่

    • เส้นเลือดและระบบประสาท
      นับว่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดเสื่อมสมรรถภาพทางเพศของท่านชายมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น
      – เส้นเลือดแดงอุดตัน ทำให้เลือดเข้าไปไหลเวียนในอวัยวะเพศได้ไม่เพียงพอ
      – เกิดความผิดปกติของเนื้อเยื่อในการการกดทับเส้นเลือดดำ ทำให้ไม่สามารถกักเก็บเลือดไว้ในอวัยวะเพศได้
      – ความผิดปกติของเส้นเลือดแดงและความผิดปกติของกลไกในการการกดทับเส้นเลือดดำ
      – นอกจากนี้ อาจจะเกิดความผิดปกติของเส้นเลือดและระบบประสาทอื่นที่เกี่ยวข้องได้ด้วย เช่น ความผิดปกติของสมอง ไขสันหลัง เส้นประสาทและการหลั่งสารสื่อประสาทต่าง ๆ เป็นต้น
    • ฮอร์โมน
      เป็นความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนเพศชายในปริมาณที่น้อยลง หรือเรียกว่า “ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย” ทำให้หมดความรู้สึกทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง อวัยวะเพศแข็งตัวได้น้อยลง หรือไม่แข็งตัวเลย พร้อมกับความรู้สึกอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง หรือหมดไฟ เป็นต้น
    • สภาพจิตใจ
      เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุหลักที่ทำให้หลายคนตกอยู่ในภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อย่างเช่นในรายผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า โรคจิตเภท มีความเครียดสะสม หรือวิตกกังวล

    ลองเช็คดู! อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังมีภาวะเสื่อมสมรรถภาพเพศชาย

    ภาวะเสื่อมสมรรถภาพ เพศชาย ไม่ว่าจะเป็นการที่องคชาติแข็งตัวได้ไม่เต็มที่ หรือไม่แข็งพอที่จะทำให้การร่วมเพศสำเร็จ ถึงแม้ว่าจะเคยแข็งตัวดีและร่วมเพศได้มาก่อน บางรายอาจจะรู้สึกว่ามีพละกำลังลดน้อยถอยลง รู้สึกอ่อนเพลีย หรือเหนื่อยง่าย เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแกร่งลดน้อยลง รวมทั้งความต้องการทางเพศน้อยลงด้วย สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าคุณอาจมีความเสี่ยงของภาวะ เสื่อมสมรรถภาพ อาการ Erectile dysfunction (ED) ร่วมกับการมีปัญหาเรื่องความแข็งตัวขององคชาติ เราสามารถเช็คด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ตามระดับความรุนแรงของโรค ดังนี้

    • ระดับ 1
      ความรุนแรงเล็กน้อย: ยังสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้สำเร็จเกือบทุกครั้ง
    • ระดับ 2
      ความรุนแรงปานกลาง: สามารถมีเพศสัมพันธ์สำเร็จได้บ้าง นับเป็นจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของการร่วมเพศทั้งหมด
    • ระดับ 3
      ความรุนแรงมาก: ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เลย หรือล้มเหลวทุกครั้ง
    Erectile dysfunction - ED

    แนวทางและวิธีการรักษาภาวะ เสื่อมสมรรถภาพ อาการ Erectile dysfunction (ED)

    • รักษาด้วยวิธีการใช้ยา
      จำพวกกลุ่ม PDE-5 Inhibitor เช่น ไวอากร้า กระตุ้นก่อนการมีเพศสัมพันธ์
    • การใช้กระบอกสูญญากาศ
      ครอบที่อวัยวะเพศเพื่อกระตุ้นให้เลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงที่อวัยวะเพศจนแข็งตัวได้ดี อาจใช้ยางรัดร่วมด้วย เพื่อไม่ให้เลือดไหลเวียนออกจนอวัยวะเพศอ่อนตัวลงได้
    • การใช้ Shockwave therapy
      หรือคลื่นเสียงความถี่ต่ำกระแทกในเนื้อเยื่อของอวัยวะเพศอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกัน 5 สัปดาห์ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดบริเวณอวัยวะเพศชายขึ้นมาใหม่แทนเซลล์เดิม ช่วยให้กลไกการแข็งตัวขององคชาติทำงานได้ดีขึ้น นิยมใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือผู้ที่ตอบสนองต่อการการใช้ยาแต่ต้องการหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากการใช้ยา
    • รักษาด้วยวิธีการฉีดยา
      จำพวกกลุ่ม Prostaglandin E1 (ภายใต้การดูแลของแพทย์) เข้าไปในอวัยวะเพศโดยตรง ช่วยกระตุ้นให้เอาอวัยวะเพศแข็งตัวได้นานมากขึ้น
    • รักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
      ใส่แกนอวัยวะเพศเทียม นิยมรักษาในผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล

    สรุปภาวะ เสื่อมสมรรถภาพ เพศชาย ไม่ใช่เรื่องไกลตัว!

    ผู้ป่วยที่ประสบปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ไม่ว่าระดับความรุนแรงนั้นจะมาก หรือน้อยขนาดไหนก็อย่ามองข้าม หากสำรวจตัวเองแล้วมีอาการที่บ่งชี้ถึงความเสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจเช็คเพื่อรับการวินิจฉัยและขอรับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของโรคอื่น ๆ ที่อาจตามมาในภายหลังได้ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องความมั่นใจในตัวเอง ปัญหาทางด้านจิตใจและการใช้ชีวิตประจำวัน กลับมาทำให้ชีวิตรักมีความสุขอีกครั้งกันดีกว่า รับนัดปรึกษาคุณหมอเลย ไม่ต้องเขินอาย!

    ลงทะเบียนรับคำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย