เพศหญิง เป็นเพศที่มีการตอบสนองไวต่อความเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อมีอายุมากขึ้น มีพฤติกรรมสุขภาพที่เพิ่มความเสี่ยง ความเครียดต่างๆ ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่ไม่ส่งเสริมให้มีสุขภาพแข็งแรง ทำให้ร่างกายมีความเสื่อมลงได้อย่างรวดเร็วกว่าปกติ ไม่เพียงแต่ความเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจ ซึ่งเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย การไหลเวียนโลหิต ความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพตามมามากมาย โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพเพศหญิง เช่น อารมณ์เปลี่ยนแปลง หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ร้อนวูบวาบ ผิวขาดความชุ่มชื้น ช่องคลอดแห้ง เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ความต้องการทางเพศลดลง การไม่ถึงจุดสุดยอดขณะมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะเล็ด และติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

ปัญหาสุขภาพเพศหญิงเหล่านี้ พบได้ 30 ถึง 50% ในประชากรเพศหญิง ซึ่งในปัจจุบันมีการรักษาที่ หลากหลายตั้งแต่ การใช้ยา, การใช้สารหล่อลื่น, การใช้ฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy), การผ่าตัด, การใช้เครื่องมือทางการแพทย์ รวมไปถึงการใช้สารสกัดจากเลือด (PRP), การใช้สารสกัดจากรก (Placenta) และการใช้สเต็มเซลล์

        (Stem Cell Therapy) เพื่อมารักษาเฉพาะจุดหรือดูแลทั้งร่างกาย โดยแต่ละอย่างจะมีความเหมาะสมและผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการใช้ “Stem Cell Therapy” นั้นถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูง มีความปลอดภัย และมีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน “Stem Cell Therapy” ถูกนำมาใช้ในการส่งเสริม ดูแลรักษา ป้องกันสุขภาพเพศหญิง ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องฮอร์โมน และการดูแลสุขภาพแบบชะลอวัย ได้แก่

  • ภาวะความต้องการทางเพศน้อยเกินไป (Hypoactive Sexual Desire Disorder)
  • ภาวะไม่ตื่นตัวทางเพศในเพศหญิง (Female Sexual Arousal Disorder)
  • ภาวะไม่มีความสุขสุดยอดในเพศหญิง (Female Orgasmic Disorder)
  • ภาวะเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ (Dyspareunia)
  • อาการวัยทองในเพศหญิง(Menopause Symptom)    

หลักการทำงานของ สเต็มเซลล์ (Stem Cell)

เซลล์ต้นกำเนิด คือ“การใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ ” เพื่อซ่อมแซมความเสื่อมของร่างกาย โดยปกติมนุษย์เราจะมีเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) ที่ช่วยซ่อมแซมภายในร่างกายอยู่แล้ว แต่การซ่อมแซมนั้นอาจไม่สมบูรณ (เนื่องจากเซลล์ต้นกำเนิดนั้นจะมีจำนวนลดลงเมื่ออายุมากขึ้นหรือร่างกายไม่แข็งแรง จึงมีการใช้
สเต็มเซลล์ ที่มีคุณภาพสูงและยังมีชีวิตอยู่ (Live Stem Cell) เพื่อเพิ่มปริมาณเซลล์ต้นกำเนิดใหม่ในร่างกาย

     สเต็มเซลล์ (Stem Cell) หรือ เซลล์ต้นกำเนิด คือ เซลล์ตัวอ่อนที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ มีคุณลักษณะพิเศษ 3 ประการ ได้แก่

 1) ยังไม่เป็นเซลล์ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง (Undifferentiated Cell)

 2) สามารถแบ่งตัวได้อย่างไม่มีขีดจำกัดทุกช่วงอายุที่มีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงเพื่อไปเป็นเซลล์อื่นๆ ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงได้ เช่น เปลี่ยนกลายเป็นเซลล์เนื้อเยื่อชนิดต่างๆ เซลล์ประสาท เซลล์เม็ดเลือด

 3) สามารถแบ่งเซลล์เพื่อทดแทนเซลล์ลักษณะเดิมได้ (Self-Renewal) จากคุณลักษณะพิเศษของสเต็มเซลล์ (Stem Cell) ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีสเต็มเซลล์ (Stem Cell Technology) มาใช้ในทางการแพทย์ โดยมีการศึกษาวิจัยกลไกการออกฤทธิ์ของสเต็มเซลล์ (Stem Cell) พบว่า หลังจากที่สเต็มเซลล์ (Stem Cell) ถูกฉีดเข้าสู่ร่างกาย สเต็มเซลล์ (Stem Cell) จะเดินทางไปยังอวัยวะที่เป็นแหล่งต้นกำเนิด (Homing) เมื่อพบว่าเซลล์ของอวัยวะนั้นๆ เสื่อม สเต็มเซลล์ (Stem Cell) ก็จะสร้างสารชีวโมเลกุลหลากหลายชนิดขึ้นมา เช่น Cytokines, Chemokines และ Growth Factors เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซม ฟื้นฟู และทดแทนเนื้อเยื่อที่มีความเสื่อมหรือเสียหาย

      แหล่งที่มาของสเต็มเซลล์ (Stem Cell) หรือ เซลล์ต้นกำเนิด มีอยู่ 2 แบบ คือ Embryonic Stem Cell (เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน) เซลล์ตัวอ่อนตั้งแต่ปฏิสนธิ และ Adult Stem Cell (เซลล์ต้นกำเนิดโตเต็มวัย) จากเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย เช่น ไขกระดูก, เลือด, เลือดจากสายสะดือทารก, รก, ฟันน้ำนม, เนื้อเยื่อไขมัน เป็นต้น สำหรับสเต็มเซลล์ (Stem Cell) ที่มีการนำมาใช้ทางการแพทย์เพื่อเสริมความงาม ดูแลสุขภาพ และเสริมสร้างความอ่อนเยาว์นั้น จะใช้เซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งเป็น Adult Stem Cell ที่เรียกว่า มิเซนไคยมอล สเต็มเซลล์ (Mesenchymal Stem Cells –MSC)

      การรักษาด้วยเซลล์บำบัด (Cell Therapy) โดยใช้สเต็มเซลล์ (Stem Cell) หรือ เซลล์ต้นกำเนิดนั้นจะให้ความสำคัญกับความสามารถในการซ่อมแซม ฟื้นฟู และทดแทนเนื้อเยื่อที่เสียหาย โดยสเต็มเซลล์ (Stem Cell) จะมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ความสามารถในการที่จะเดินทางไปยังแหล่งที่มีการอักเสบ และสร้างสารชีวโมเลกุล เช่น Cytokines ที่ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อ, ต้านการอักเสบ, ปรับสมดุลฮอร์โมน, ปรับสมดุลของร่างกาย และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ต้นกำเนิด ที่มีอยู่ในร่างกาย โดยสเต็มเซลล์

       (Stem Cell) สามารถทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นเซลล์ในร่างกายที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนให้ทำงานและตอบสนองกับสภาพร่างกายและฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น
  •  ช่วยส่งเสริมให้ร่างกายกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ ช่วยเพิ่มเซลล์ชนิด Fibroblasts ซึ่งเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตคอลลาเจนและอิลาสตินให้กับผิวหนัง ซึ่งจะช่วยลดริ้วรอย, ความเหี่ยวย่น และรักษารอยแผล ทำให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่ง และทำให้เซลล์ผิวโดยรวมดูอ่อนเยาว์อย่างเห็นได้ชัดเจน
  • ช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูเซลล (ผิวที่เสื่อมสภาพ เช่น ซ่อมแซมเซลล์ผิวที่ได้รับความเสียหายจาก Ultraviolet B (UVB), เพิ่มความแข็งแรงให้กับผิวหนังชั้น Dermis ช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งผิวหนังช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue) ที่มีผลกับสร้างเส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินรวมไปถึงการสร้างหลอดเลือดและเนื้อเยื่อ กระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนเลือดทำให้ผิวดูมีเลือดฝาด
  • ช่วยส่งเสริมการเจริญของหลอดเลือดใหม่ (Angiogenesis) ซึ่งจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
  • ช่วยลดกระบวนการอักเสบในร่างกายและปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยกระตุ้นการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการถูกทำลายของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายจากสารอนุมูลอิสระ
  • ช่วยกระตุ้นการทำงานของ Growth Factor และ Cytokines ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ตอบสนองและทำงานได้ดียิ่งขึ้น

       จะเห็นได้ว่า สเต็มเซลล์ (Stem Cell) นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะ สเต็มเซลล์ (Stem Cell) นั้นเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเซลล์ต้นกำเนิดนี้ จะมีจำนวนลดลงและมีความสามารถลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น และลดลงอย่างรวดเร็ว ถ้าบุคคลนั้นมีสุขภาพที่ไม่ดี หรือมีโรคประจำตัวต่าง ๆ ซึ่งระดับจำนวนสเต็มเซลล์ ในกระแสเลือด (Circulating Stem Cell) มีความสำคัญต่อสุขภาพและมีผลต่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอต่างๆของร่างกายผู้ที่มีระดับจำนวน สเต็มเซลล ที่มากพอจะมีสุขภาพที่ดีห่างไกลจากการเกิดโรค 

การใช้ Stem Cell Therapy ในการดูแลสุขภาพจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง