ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สาเหตุเกิดจากอะไร อายุเท่าไร มีทางแก้อย่างไร

หลายๆคนเข้าใจว่า อาการปัสสาวะเล็ด หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเท่านั้นแต่ในความเป็นจริงแล้วอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุและเกิดขึ้นได้กับผู้หญิง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงหลายๆคน ในบทความนี้เราจะมาศึกษาอาการปัสสาวะเล็ด คืออะไร อาการปัสสาวะเล็ด หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เกิดจากสาเหตุอะไรและสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงอายุใด พร้อมวิธีรักษาวิธีแก้และข้อแนะนำเพื่อลดอาการปัสสาวะเล็ดของคุณผู้หญิงกันค่ะ
เลือกอ่านหัวข้อที่ชอบ
    Add a header to begin generating the table of contents

    ลงทะเบียนฟรี เลเซอร์แก้ปัสสาวะเล็ด ราคาพิเศษ พร้อมปรึกษาฟรี

    urinary leaking

    ปัสสาวะเล็ด คือ อะไร?

    โรคปัสสาวะเล็ด หรือการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary Incontinence) หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อาการช้ำรั่ว” คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถกลั้นปัสสาวะเอาไว้ได้ เป็นหนึ่งในปัญหาเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุและผู้หญิงทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยทั่วไป การใช้ชีวิตประจำวันและความวิตกกังวล โดยปกติแล้ว คนเราจะขับถ่ายปัสสาวะในปริมาณ 400-600 มิลลิลิตรต่อครั้งแต่หากมีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่จะขับถ่ายปัสสาวะน้อยกว่าปริมาณปกติ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน

    1. กลุ่มที่มีปัสสาวะไหลตลอดเวลา มักพบได้ในคนที่มีโรคทางระบบประสาทและสมอง แม้ว่าจะเดินปกติ หรือเดินเร็วกว่าปกติก็ทำให้ปัสสาวะไหลตลอดเวลาได้ง่าย จนต้องใช้แผ่นอนามัยซับ
    2. กลุ่มที่มีปัสสาวะเล็ดออกมาโดยเฉพาะเวลาทำกิจกรรมต่างๆ หรือออกแรงมากๆ เช่นการออกกำลังกาย การจาม หรือการไอ เป็นต้น นับว่ามีจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคปัสสาวะเล็ดที่มีอาการเหล่านี้
    3. กลุ่มที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือภาวะที่กระเพาะปัสสาวะทำงานไวเกินไป (Overactive Bladder) มักจะปวดปัสสาวะบ่อย หากมีอาการปวดปัสสาวะ ปัสสาวะจะเล็ดออกมาทันที

    อาการปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สาเหตุจากอะไร?

    • การทำงานของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ซึ่งทำให้เกิดการบีบตัวไวและไม่สามารถควบคุมการถ่ายปัสสาวะได้ ซึ่งอาจจะมีโรคทางระบบประสาทและสมอง หรือติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะร่วมด้วย
    • ความผิดปกติของอวัยวะขับถ่าย มักจะพบมากในผู้หญิงที่คลอดบุตร คนที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่มีเนื้องอกในช่องท้อง ผู้ที่มีอาการท้องผูกเรื้อรังและภาวะไอเรื้อรัง เนื่องจากมีแรงดันสะสมในช่องท้องติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน เนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ซึ่งทำหน้าที่ในการพยุงท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะและหูรูดท่อปัสสาวะหย่อนยานจึงไม่สามารถกักเก็บปัสสาวะเอาไว้ได้
    • อายุที่เพิ่มมากขึ้น ระบบการทำงานต่างๆในร่างกายก็จะเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เยื่อบุช่องคลอดฝ่อและแห้ง
    • ปัญหาทางสมอง หรือร่างกายและโรคประจำตัว มักจะพบได้ในผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อม หรือผู้ที่มีปัญหาทางด้านร่างกาย ซึ่งไม่สามารถเคลื่อนไหว หรือไปห้องน้ำได้ทันเวลา นอกจากนี้โรคประจำตัวบางอย่างก็ส่งผลต่อการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ อย่างเช่น โรคเบาหวานและโรคต่อมลูกหมากโต เป็นต้น
    • การเกิดแรงดันบริเวณช่องท้องจากการออกกำลังกายและทำกิจกรรมที่ใช้แรงมากๆ
    • การรับประทานอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่อัดลม หรือผลไม้ตระกูลส้ม เป็นต้น
    • เพศหญิงในช่วงวัยหมดประจำเดือน โดยเฉพาะสตรีที่ไม่ได้ทำการบริหารอย่างถูกวิธีในช่วงหลังคลอด

    ปัสสาวะเล็ดราด สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงอายุใด?

    อาการปัสสาวะเล็ด หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุและผู้หญิงทุกวัย เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะสตรีที่มีบุตรและสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน
    leucorrhoea

    วิธีรักษา วิธีแก้ ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

    วิธีรักษาอาการปัสสาวะเล็ด หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ทำการตรวจและรักษาตามอาการ

    • อาการปัสสาวะเล็ดในช่วงเริ่มต้น อาจจะให้ผู้ป่วยฝึกขมิบและบริหารหูรูดให้กระชับและมีแรงในการกลั้นปัสสาวะ
    • อาการปัสสาวะเล็ดที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท หรือกระเพาะปัสสาวะ แพทย์จะให้ผู้ป่วยทำการปรับพฤติกรรมด้วยการคุมเวลาการปัสสาวะและการดื่มน้ำ รวมทั้งการให้ยารักษา
    • อาการปัสสาวะเล็ดในผู้หญิง แพทย์จะทำการเลเซอร์ยกกระชับช่องคลอดเพื่อทำลายเซลล์เนื้อเยื่อเก่าๆ พร้อมทั้งเสริมคอลลาเจนเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อ
    • การผ่าตัดแก้อาการปัสสาวะเล็ดผ่านหน้าท้อง หรือช่องคลอดเพื่อเสริมสร้างแรงต้านของท่อปัสสาวะให้ทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งวิธีนี้เห็นผลเร็วและมีประสิทธิภาพสูงทำ โดยแพทย์จะเป็นผู้ทำการประเมินการรักษาตามความเหมาะสมของแต่ละเคส

    ข้อแนะนำเพื่อลดอาการปัสสาวะเล็ด

    ผู้ที่มีอาการปัสสาวะเล็ด หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ให้ทำการฝึกปรับพฤติกรรมของตัวเอง เริ่มต้นที่

    • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีกากใยสูงเพื่อป้องกันอาการท้องผูก
    • การออกกำลังกายที่เหมาะสม ไม่หักโหมและไม่หนักจนเกินไป ครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน
    • การควบคุมน้ำหนักตัวให้พอดีเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวเกิน
    • ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม คือ 1-1.5 ลิตรต่อวัน แบบค่อยๆจิบตลอดวัน
    • งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โกโก้และเครื่องดื่มอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มกระตุ้นการปัสสาวะ อย่างเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น


    หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิดตามคำแนะนำของแพทย์ โดยดูแลและควบคุมโรคประจำตัวของตัวเองอยู่สม่ำเสมอด้วยการไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

    สำหรับผู้หญิงให้ฝึกขมิบช่องคลอดอยู่เสมอเพื่อเป็นการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง

    • การขมิบแบบค้างไว้ ครั้งละ 6-8 วินาที วันละ 3 ชุด ชุดละ 20 ครั้ง
    • การขมิบแบบเร็วๆติดต่อกัน วันละ 3 ชุด ประมาณ 10-20 ครั้งต่อชุด

    สรุปปัญหาปัสสาวะเล็ด หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

    ปัญหาปัสสาวะเล็ด หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ผู้สูงอายุ หรือผู้หญิงเท่านั้นแต่จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งหากเกิดอาการผิดปกติขึ้นแล้วคุณไม่ควรมองข้าม ควรหาโอกาสไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างตรงจุดเพื่อป้องกันปัญหาที่จะกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งโรคเรื้อรังที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้นอย่าอายที่จะไปพบหมอ การรักษาที่ทันเวลาถือเป็นอีกหนึ่งหนทางของการใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขอีกครั้ง
    urinary leaking

    Revirgin บริการยกกระชับช่องคลอด พร้อมแก้ปัญหาปัสสาวะเล็ดที่ Rejuvet Clinic

    Revirgin เลเซอร์รีแพร์ยกกระชับช่องคลอดด้วยเทคโนโลยี New ThermiVa ที่มีการใช้ Heat Protector Gel ความบริสุทธิ์สูง จึงไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ ส่งพลังงานลึก แม่นยำและตรงจุด ทำให้กล้ามเนื้อไม่หย่อนคล้อย ลดปัญหาปัสสาวะเล็ด พร้อมทั้งยกกระชับช่องคลอดได้อีกด้วยค่ะ

    หากคุณผู้หญิงต้องการคำแนะนำหรือต้องการปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาปัสสาวะเล็ดราด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สามารถรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 063-552-2244 และ 02-044-2788 หรือสามารถแอดไลน์ Line: @rejuvetbangkok ทางทีมงาน Rejuvet ยินดีให้คำปรึกษาสาวๆทุกท่านโดยไม่มีค่าใช้จ่ายก่อนเข้ารับบริการจริงใดๆค่ะ

    ลงทะเบียนรับคำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมรับราคาพิเศษ